วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การให้สัมปทานของรัฐ

รัฐเป็นเจ้าของผืนดิน ผืนน้ำ อากาศ คลื่นความถี่ และทรัพยากรธรรมชาติอีกหลายอย่าง บางครั้ง รัฐไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด จึงจัดสรรให้ภาคเอกชนนำไปบริหารจัดการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมแทนภาครัฐ ที่อาจมีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ กำลังคน หน่วยงานที่ดูแล โดยรัฐเข้าไปทำสัญญาเป็นผู้ให้สิทธิแก่เอกชนซึ่งมาทำข้อตกลงกับรัฐ และกำหนดผลตอบแทนคืนรัฐในรูปแบบ
ของการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม การจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินเป็นระยะเวลาที่แน่นอน เป็นต้น

สัมปทานของรัฐที่สำคัญ ได้แก่ การให้สัมปทานในการแสวงหาขุดเจาะบ่อน้ำมันดิบ การให้สัมปทานในการสร้างทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์ การสร้างทางด่วน การสร้างเขื่อนโรงไฟฟ้า การสร้างถนน การสร้างทางรถไฟฟ้า การสร้างถนนวงแหวน การจัดสรรคลื่นความถื่โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

รัฐเป็นคู่สัญญา โดยมีเอกชนเป็นผู้รับสัญญา เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เอกชนได้ประโยชน์ในรูปการลงทุนและได้รับผลตอบแทนเป็นเงินที่เก็บจากการที่ประชาชนมาใช้บริการ รัฐได้เงินส่วนแบ่งจากภาคเอกชน มีการจ้างงาน ประชาชนมีงานทำ มีสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้น มีการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ มีผลิตผลหรือผลผลิตของงานที่ทำ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม รัฐเรียกเก็บภาษีได้ทั้งภาษี
การค้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม GDP เพิ่มขึ้น และอื่น ๆ

การให้สัมปทานของรัฐจึงเป็นสิ่งจำเป็น และต้องดำเนินการ ตราบเท่าที่ความต้องการใช้สิ่งอุปโภค บริโภค หรือสาธารณูปโภค ของประชาชนยังมีอยู่อีกมาก แต่กำลังของภาครัฐยังมีอยู่อย่างจำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น