วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กฎหมายเบื้องต้น

กฎหมาย คือ กฎระเบียบที่บังคับใช้กับคนในสังคม มีมากมายหลายรูปแบบ และมีลำดับศักดิ์ต่างกันออกไปตามความสำคัญและการบังคับใช้ ซึ่งในประเทศไทย พอจะเรียงลำดับได้ดังนี้คือ

1.รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุด ส่วนกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นที่รวมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ทุกคนในประเทศย่อมต้องอยู่ภายใต้กฎหมายนี้ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 เป็นต้น

2.พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา อยู่ในลำดับเดียวกันแตกต่างกันตามการใช้งาน

3.ประมวลกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น

4.กฎกระทรวง ทบวง กรม เช่น ประกาศกฎกระทรวงแรงงาน

5.คำวินิจฉัยของหน่วยงานรัฐ เช่น คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมที่ดิน คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร เป็นต้น

6.ข้อตกลงหรือสัญญาต่างตอบแทน เช่น สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สัญญาแฟรนไชส์ ต่าง ๆ เป็นต้น

บางครั้งข้อขัดแย้งบางอย่าง ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ใช้โดยตรง จึงอาจต้องอาศัยกฎหมายอื่น หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องนำมาใช้แทน เช่นคำพิพากษาศาลฎีกา ความเห็นจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา คำวินิจฉัของอนุญาโตตุลาการทางการค้า เป็นต้น โดยนำมาใช้แทนกฎหมายพิเศษโดยอนุโลมเท่าที่จำเป็นเท่านั้น สำหรับการใช้กฎหมายต่างประเทศอาจเป็นกรณี เช่น การใช้หลักขัดกันแห่งกฎหมาย การนำอนุสัญญาภาษีซ้อนมาใช้กับการเสียภาษี เป็นต้น หากมีข้อซักถาม โปรดส่ง email มาเป็นกรณีได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น